วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ส่วนผสมสำคัญ ใน เอนโนเซนต์ (Ennosend) 01

                ส่วนผสมสำคัญ ใน เอนโนเซนต์ (Ennosend) 01
    1. คอลลาเจน จากปลาทะเล (Marine Collagen Powder)
      คอลลาเจนจากปลาทะเลคือ สารอาหารที่สกัดจากปลาทะเล ซึ่งเราจะได้สารสำคัญอยู่ 2ชนิด
     -สารอาหารประเภทโปรตีน ซึ่งเมื่อร่างกายของเราได้รับแล้ว ก็จะย่อยและดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดในรูปของกรดอะมิโน ซึ่งพบว่าโปรตีนจากปลาทะเลนี้จะให้กรดอะมิโนครบทั้ง 20 ชนิด
     -สารอาหารในกลุ่มสารประกอบที่เกิดจากกรดอะมิโน และน้ำตาลกลูโคส ซึ่งเป็นหน่วยย่อยที่สุดของสารอาหารคาร์โบไฮเดรต และได้เป็นสารประกอบที่มีชื่อว่า โปรทีโอไกลแคน (Proteoglycans) หรือบางครั้งเรียกว่าสารไกลโคซามิโนไกลแคน (Glycosaminoglycans)
     เนื่องจากสารอาหารโปรทีโอไกลแคนนี้เป็นสารอาหาร ที่ร่างกายของเรามีความจำเป็นที่จะนำไป ใช้ในขบวนการทางชีวเคมีต่างๆ อยู่ตลอดเวลา  โดยเฉพาะผู้ที่มีความบกพร่อง ของปริมาณสารอาหารโปรทีโอไกลแคนในร่างกาย เช่นผู้ที่มีผิวพรรณเหี่ยวย่น ผู้ที่ใช้เครื่องสำอางที่ให้ผลในการลอกผิวหน้า ผู้ที่มีปัญหาเรื่องของระบบหลอดเลือดเปราะแตกง่าย ผู้ที่มีปัญหาเรื่องของกระดูกเสื่อม ข้อต่อเข่าเสื่อม ผู้ที่ต้องการรักษาแผลเป็นจากสิว หรือผู้ที่มีปัญหาของเส้นผมแตกปลาย เล็บเปราะ
     เนื่องจากร่างกายของเราจะนำสารโปรทีโอไกลแคน ที่ได้จากโปรตีนคอลลาเจนจากปลาทะเลนี้ไปใช้ในกระบวนการสร้างเส้นใยโปรตีน ที่ชื่อว่า "เส้นใยโปรตีนคอลลาเจน"
     ดังนั้นโปรตีนคอลลาเจน ซึ่งให้สารอาหารโปรตีนในลักษณะพิเศษนี้ จึงถือเป็นโปรตีนที่เหมาะสมสำหรับในการบำรุงผิวพรรณอย่างมาก เพราะผิวพรรณของเราประกอบด้วยโครงสร้างหลัก 2 อย่างคือ เซลล์ผิวพรรณและเส้นใยโปรตีนซึ่งเมื่อใดที่โครงสร้างหลักของผิวพรรณเกิดความบกพร่องจะส่งผลทำให้เกิดปัญหาต่อผิวพรรณของเราขึ้นได้ทันที

 
   2. สารสกัดจากเปลือกสน (Pine Bark Extract)
       สารสกัดจากเปลือกสน ประกอบไปด้วย สารจำพวกฟลาโวนอยด์ที่มีโครงสร้างแบบโพลีฟีนอล (Polyphenol) และกรดอินทรีย์ (Organic acid) ซึ่งเมื่อรวมตัวกันแล้วจะทำให้มีการออกฤทธิ์ได้ดีกว่าสารประกอบเดี่ยวๆตัวใดตัวหนึ่ง โดยทุกองค์ประกอบจะทำงานสอดคล้องประสานกันอย่างลงตัวและเหมาะเจาะ ซึ่งเอื้อประโยชน์อย่างมากต่อทั้งสุขภาพทั้งในคนและในสัตว์ นอกจากนี้แล้วมันยังไม่มีพิษอีกด้วย
      สารสกัดจากเปลือกสนได้ถูกนำมาศึกษา และพบว่าให้ผลดีต่อการรักษาโรคและภาวะหลายชนิด แต่งานวิจัยที่น่าสนใจที่สุดเห็นจะเป็นการศึกษาที่ทำในประเทศจีน โดยนักวิทยาศาสตร์ชื่อ Zhigang Ni และคณะวิจัย พวกเขาค้นพบว่า คุณสมบัติในการเป็นแอนติออกซิเดนท์ในเปลือกสนสกัดนี้ จะช่วยลดปฎิกริยาและการเพิ่มเม็ดสีที่ผิวหนังเมื่อถูกแสงแดด สารโอพีซีในเปลือกสนสกัดสามารถลดขนาด และความเข้มของฝ้าโดยไม่มีผลข้างเคียงกับผิวบริเวณอื่นเลย ยิ่งไปกว่านั้นสารสกัดจากเปลือกสนยังช่วยยับยั้งการก่อมะเร็งผิวหนัง ที่เกิดจากการสัมผัสหรือกระตุ้นด้วยสารเคมีอีกด้วย
        3. สารสกัดจากเมล็ดองุ่น (Grape seed Extract)
            ประโยชน์ของสารสกัดจากเมล็ดองุ่น 
                 OPC พบในส่วนผสมของผิวและเมล็ดของผลไม้หลายชนิด คือ องุ่น บลูเบอรี่ เชอรี่ พลัม รวมทั้งเปลือกสน แต่แหล่งที่สำคัญของ OPC  คือเมล็ดองุ่น (Grape seed) ความจริงในเนื้อองุ่นทั้งองุ่นเขียว และองุ่นม่วงก็มีอยู่บ้าง แต่ไม่มากเท่าในเมล็ด ดังนั้น ในไวน์แดง ซึ่งเด้จากการหมักผลองุ่นพร้อมเล็ดจึงมี OPC อยู่ไม่น้อย จึงมีผู้แนะนำให้ดื่มไวน์แดงเป็นประจำ เพื่อป้องกันโรคหัวใจ
        อย่างไรก็ตามผู้ที่คาดหวังจะได้ OPC มาก จากการดื่มไวน์แดงคงจะไม่คุ้มกัน เพราะจะได้รับแอลกอฮอล์เข้าไปไม่น้อย อาจทำให้เป็นโรคตับแข็งก่อนก็เป็นได้
        ในเมล็ดองุ่นแม้จะเป็นแหล่งที่ดีของ OPC แต่ก็ไม่แนะนำให้รับประทานเมล็ดองุ่น โดยตรงเพราะมีสารชนิดอื่นๆ ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้ จึงมีการนำเมล็ดองุ่นมาสกัดได้เป็นสารสกัดจากเมล็ดองุ่น (Grape seed Extract) ซึ่งอุดมด้วยสาร OPC
          4. สารสกัดจากมะเขือเทศ (Tomato Extract)
              ประโยชน์ของสารสกัดจากมะเขือเทศ
       ไลโคปีน (Lycopene)คือสารสีแดงในมะเขือเทศ  มีส่วนช่วยลดอัตราเสี่ยงการเป็นมะเร็งหลายชนิด โดยเฉพาะมะเร็งต่อมลูกหมาก
       ผู้เข้ารับการทดสอบที่รับประทานมะเขือเทศในปริมาณสูงที่สุด 10 ครั้งต่อสัปดาห์ มีอัตราเสี่ยง ในการเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากต่ำกว่าเมื่อเปรียบ เทียบกับผู้ที่รับประทานน้อยกว่า 1.5 ครั้งต่อสัปดาห์
      การรับประทาน มะเขือเทศในอัตราสูงจะช่วยลดอัตราการเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากทุกประเภท ได้ถึง 35% และลดความรุนแรงของโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก 53%
     สารสกัดจาก มะเขือเทศที่ประกอบด้วยไลโคปีน 30 มิลลิกรัมต่อวัน จะช่วยลดการเจริญเติบโตของโรคมะเร็งต่อมลูกหมากในคนไข้ภายหลังจากการรักษา โรคมาแล้ว 3 สัปดาห์
     

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น